9. คำสำคัญ (Key words)
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm กล่าวว่าศัพท์ดรรชนี หรือคำสำคัญ คือ
คำที่แสดงเนื้อหาของวิทยานิพนธ์ ถือได้ว่าเป็นคำหลัก ที่จะช่วยในการ
สืบค้นเข้าถึงวิทยานิพนธ์เรื่องนั้น ในการเขียน โครงร่างวิทยานิพนธ์
นิสิตจะต้องคิดคำสำคัญประมาณ 2-3 คำ แต่ละคำ มีกี่ตัวอักษรก็ได้
แต่รวมแล้วไม่เกิน 75 ตัวอักษร เทคนิคการสร้างคำสำคัญที่ง่ายที่สุด คือ
ให้ดึงคำ หรือแนวคิด ที่ปรากฏในชื่อวิทยานิพนธ์ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ
เมื่อนิสิตกำหนดชื่อวิทยานิพนธ์ ชื่อควรประกอบด้วย คำสำคัญ ครอบคลุม
สะท้อนเนื้อหาของวิทยานิพนธ์ คำนาม
คำคุณศัพท์ หมายเลขเครื่องมือ ชื่อเฉพาะ สามารถนำมาเป็นคำสำคัญได้
ในขณะที่ควรหลีกเลี่ยง คำศัพท์สามัญ ที่คุณค่าในการสืบค้นน้อย เช่นคำว่า วิธีการ
ปัญหา ลักษณะ สภาพ ความแตกต่าง ระบบ เป็นต้น
http://goo.gl/v9mA3 กล่าวว่าความสำคัญของการวิจัย
(Significance of the
research) คือ ข้อความที่ชี้ให้เห็นว่าเมื่อทำวิจัยแล้วเสร็จ
ข้อค้นพบสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในลักษณะใดอย่างไร
http://lib20.kku.ac.th/infoliteracy/opac_journal_keyword.html กล่าวว่าคำสำคัญ หมายถึง คำที่กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้แทนเนื้อหาของบทความวารสาร
ซึ่งต้องเป็นคำที่สั้นกระทัดรัด ได้ใจความ มีความหมาย เป็นคำนามหรือเป็นศัพท์เฉพาะ
ซึ่งการค้นหาด้วยคำสำคัญ หรือ Keyword นี้
จะเป็นการค้นหาคำที่ปรากฏอยู่ในชื่อเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นบริเวณต้นเรื่อง
กลางเรื่องหรือท้ายเรื่อง (ทั้งนี้ยกเว้นคำบางคำ เช่น เป็น, ที่,
ซึ่ง,อัน,and, from, the, this, what ฯลฯ)
ซึ่งการค้นแบบนี้
เหมาะสำหรับใช้ในกรณีที่ไม่ทราบชื่อบทความที่แน่ชัด
หรือไม่แน่ใจเกี่ยวกับหัวเรื่อง
สรุป คำสำคัญ จะเป็นคำที่ใช้ในการอธิบายรูป ลักษณะของเอกสารนั้น เช่น ชื่อเรื่อง หัวข้อ หัวเรื่อง รายละเอียดอย่างย่อของเอกสารโดยผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าต้องการสืบค้นจากส่วนใด การสืบค้นแบบนี้ ผู้สืบค้นไม่จำเป็นต้องทราบชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง หรือชื่อชุด ที่ถูกต้องหรือสมบูรณ์ วิธีนี้จึงเป็นการสืบค้นที่ยืดหยุ่นที่สุด เหมาะกับการเริ่มต้นสืบค้น การกำหนดคำสำคัญควรมีจำนวนคำพอสมควรเพื่อความสะดวกในการสืบค้นแต่ไม่ควรเกิน 5 คำแต่ละคำไม่จำกัดตัวอักษรโดยจำนวนอักษรทั้งหมดไม่ควรเกิน 75 ตัวอักษร วิธีการสร้างคำสำคัญคือ การใช้คำ วลี หรือแนวคิดที่ปรากฏหรือแสดงในเนื้อหาสารนิพนธ์ ทั้งนี้ อาจอิงคำสำคัญที่ปรากฏในฐานข้อมูลของแต่ละสาขาวิชา โดยคำสำคัญนั้นควรครอบคลุมเนื้อหาของสารนิพนธ์อย่างเจาะจง
....................................................................................................................................................................................................
สรุป คำสำคัญ จะเป็นคำที่ใช้ในการอธิบายรูป ลักษณะของเอกสารนั้น เช่น ชื่อเรื่อง หัวข้อ หัวเรื่อง รายละเอียดอย่างย่อของเอกสารโดยผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าต้องการสืบค้นจากส่วนใด การสืบค้นแบบนี้ ผู้สืบค้นไม่จำเป็นต้องทราบชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง หรือชื่อชุด ที่ถูกต้องหรือสมบูรณ์ วิธีนี้จึงเป็นการสืบค้นที่ยืดหยุ่นที่สุด เหมาะกับการเริ่มต้นสืบค้น การกำหนดคำสำคัญควรมีจำนวนคำพอสมควรเพื่อความสะดวกในการสืบค้นแต่ไม่ควรเกิน 5 คำแต่ละคำไม่จำกัดตัวอักษรโดยจำนวนอักษรทั้งหมดไม่ควรเกิน 75 ตัวอักษร วิธีการสร้างคำสำคัญคือ การใช้คำ วลี หรือแนวคิดที่ปรากฏหรือแสดงในเนื้อหาสารนิพนธ์ ทั้งนี้ อาจอิงคำสำคัญที่ปรากฏในฐานข้อมูลของแต่ละสาขาวิชา โดยคำสำคัญนั้นควรครอบคลุมเนื้อหาของสารนิพนธ์อย่างเจาะจง
....................................................................................................................................................................................................
อ้างอิง
- http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm เข้าถึงเมื่อ 25/11/2555
- http://goo.gl/v9mA3 เข้าถึงเมื่อ 25/11/2555
- http://lib20.kku.ac.th/infoliteracy/opac_journal_keyword.html เข้าถึงเมื่อ 25/11/2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น