16. ขอบเขตของการวิจัย
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 กล่าวว่าเป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด
เนื่องจากผู้วิจัยไม่สามารถทำการศึกษาได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น
จึงต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้แน่นอน ว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง
ซึ่งอาจทำได้โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของสาขาวิชา
หรือกำหนดกลุ่มประชากร สถานที่วิจัย หรือระยะเวลาในการวิจัยทั้งหมด
http://goo.gl/v9mA3 กล่าวว่าขอบเขตของการวิจัย (Scope of study) เป็นการกำหนดหรือจำกัดวงให้ ชัดเจนว่า การวิจัยจะกระทำกับใครหรือสิ่งใด
จำเรียง กูรมะสุวรรณ (2529:162)
กล่าวว่า ในการทำวิจัยถึงแม้ว่าจะมีการวางแผนอย่างดีแล้วก็ตาม ความคลาดเคลื่อน (error) ที่เกิดขึ้นเองจากลักษณะของกลุ่มตัวอย่างหรือจากตัวแปรภายนอก ฯลฯ
ซึ่งผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมหรือหลีกเลี่ยงได้และสิ่งนั้นมีผลต่อข้อมูลที่เก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล
ทำให้ผลการวิจัยไม่สมบูรณ์ เกิดความบกพร่อง
จึงควรจะกล่าวไว้ให้ผู้อ่านได้ทราบพร้อมทั้งเหตุผลทั้งนี้เพื่อที่ผู้จะนำผลการวิจัยไปใช้
จะได้พิจารณาความจำกัดของการวิจัยเรื่องนั้นๆ ด้วย
..................................................................................................................................................................................................
สรุป ขอบเขตของการวิจัย
เป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด การกำหนดขอบเขตของการวิจัย จะทำให้งานวิจัยมีความชัดเจน
และเป็นไปตามวัตถุประสงค์การวิจัยที่ได้กำหนดเอาไว้ ซึ่งในส่วนของขอบเขตการวิจัยนั้น จะประกอบด้วย
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ซึ่ง ผู้วิจัยต้องระบุว่าประชากรเป็นใคร
ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวนเท่าไร
และกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีใด
2. ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา
ผู้วิจัยต้องระบุตัวแปรอิสระและตัวแปรตามที่ใช้ในการศึกษาทั้งหมด..................................................................................................................................................................................................
อ้างอิง
- http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เข้าถึงเมื่อ 11/11/2555
- http://goo.gl/v9mA3 เข้าถึงเมื่อ 11/11/2555
- จำเรียง กูรมะสุวรรณ. (2552). สถิติและการวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สามเจริญพานิช.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น