2. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย
(background and rationale)
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 กล่าว่าอาจเรียกต่างๆกัน
เช่น หลักการและเหตุผล ภูมิหลังของปัญหา ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย หรือ ความสำคัญของโครงการวิจัย
ฯลฯ ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร ต้องระบุว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร
มีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร มีความสำคัญ รวมทั้งความจำเป็น คุณค่า และประโยชน์
ที่จะได้จากผลการวิจัยในเรื่องนี้
โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาอย่างกว้างๆ
ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร และภายในสภาพที่กล่าวถึง มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง
ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้
มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้
ได้อย่างไร
http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re4.htm กล่าว่าปัญหาการวิจัย คือ ประเด็นที่นักวิจัยสงสัยและต้องการดำเนินการเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริง ทำให้มีลักษณะข้อสงสัยของผู้วิจัยต่อสถานการณ์ทั้งที่เป็นความแตกต่างและไม่แตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นจริงกับสิ่งที่คาดหวัง และที่สำคัญปัญหานั้นไม่สามารถหาคำตอบด้วยสามัญสำนึก
จากความหมายของปัญหาการวิจัยดังกล่าวมีความแตกต่างจากปัญหาทั่วไป
คือปัญหาทั่วไป หมายถึง
สภาพที่เป็นความขัดแย้งระหว่างสิ่งที่เป็นจริงกับสิ่งที่คาดหวัง
แต่ปัญหาการวิจัยอาจเป็นเรื่องที่ใช่ความแตกต่างหรือไม่แตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นจริงกับสิ่งที่คาดหวังก็ได้
และต้องไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยสามัญสำนึก
ถ้าปัญหาใดที่สามารถแก้ไขได้ด้วยสามัญสำนึกก็ไม่จำเป็นต้องทำการวิจัย
ดังนั้น การกำหนดปัญหาการวิจัย
จึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักสำหรับนักวิจัยที่จะกำหนดปัญหาการวิจัยที่ง่าย
ชัดเจน และครบถ้วนสมบูรณ์ นักวิจัยส่วนมากอาจมีแนวความคิดที่สลับซับซ้อน
บางคนอาจใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างแนวคิด และวิเคราะห์
ก่อนที่จะสามารถตัดสินใจได้ว่า
ปัญหาการวิจัยที่เขาต้องการจะหาคำตอบที่แท้จริงคืออะไร
เพื่อให้เห็นภาพความแตกต่างระหว่างปัญหาการวิจัยและปัญหาทั่วไปยกตัวอย่างปัญหาที่น่าสนใจ
1. ผู้เรียนที่ไม่ตอบข้อสอบอัตนัยมีพฤติกรรมอย่างไร
2. นักวิจัยที่มีจรรยาบรรณวัดจากตัวบ่งชี้ใดได้บ้าง
3. เพราะเหตุใดที่ทำให้การจราจรในกรุงเทพมหานครติดขัด
จากปัญหาเบื้องต้นท่านคิดว่าปัญหาข้อใดเป็นปัญหาการวิจัย
การที่จะตอบคำถามได้ต้องมีความเข้าใจความแตกต่างของปัญหาการวิจัยกับปัญหาทั่วไปก่อน
ดังที่กล่าวไป
ปัญหาข้อ1
ผู้เรียนที่ไม่ตอบข้อสอบอัตนัยทุกข้อเลยเป็นบุคคลที่มีพฤติกรรมอย่างไร
เป็นข้อสงสัยของผู้วิจัยต่อสถานการณ์ที่เป็นความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นจริงกับสิ่งที่คาดหวัง
และไม่สามารถคิดคำตอบโดยใช้สามัญสำนึก (สิ่งที่คาดหวัง
คือผู้เรียนทุกคนควรตอบข้อสอบอัตนัยเพื่อให้สามารถวัดความคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนได้)
จึงเป็นปัญหาการวิจัย
ปัญหาข้อ 2
นักวิจัยทีมีจรรยาบรรณวัดจากตัวบ่งชี้ใดได้บ้าง
เป็นข้อสงสัยของผู้วิจัยต่อสถานการณ์ที่ไม่ได้เป็นความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นจริงกับสิ่งที่คาดหวัง
แต่ไม่สามารถคิดคำตอบโดยใช้สามัญสำนึก จึงเป็นปัญหาการวิจัย
ปัญหาข้อ 3
เพราะเหตุใดที่ทำให้การจราจรในกรุงเทพมหานครติดขัด
เป็นปัญหาที่มีต่อสถานการณ์ที่เป็นความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นจริงกับสิ่งที่คาดหวัง
และสามารถหาคำตอบด้วยสามัญสำนึก
จึงไม่เป็นปัญหาการวิจัย
ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงลักษณะปัญหาที่ดี
เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือกตัวปัญหามาทำวิจัย
ลักษณะของปัญหาที่ดีนั้นมีดังนี้
1.
เป็นปัญหาที่สำคัญ มีประโยชน์
ทำให้เกิดความรู้ใหม่หรือใช้ปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้
2. เป็นปัญหาที่สามารถหาคำตอบได้ด้วยวิธีการวิจัย
3. เป็นปัญหาที่สามารถหาข้อมูลมาตรวจสอบสมมุติฐาน
เพื่อหาข้อสรุป
4. เป็นปัญหาที่สามารถให้ค่านิยามปัญหาได้
5.
เป็นปัญหาที่สามารถวางแผนการดำเนินงานตามขั้นตอนไว้ล่วงหน้าได้
6. เป็นปัญหาที่สามารถใช้วิชาการ และขั้นตอน
หรือเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูลได้
ดังนั้น
จะเห็นว่าการกำหนดปัญหาการวิจัยมีความสำคัญอย่างมาก
นอกจากจะช่วยให้เรื่องที่จะทำการวิจัยแคบลง มีเป้าหมายแน่นอนแล้ว
ยังช่วยชี้แนะแนวทางในการกำหนดวัตถุประสงค์และสมมติฐาน การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล
และการสรุปผลวิจัยอีกด้วย อีกนัยหนึ่ง
ปัญหาการวิจัยเป็นเครื่องบ่งชี้แนวทางการวิจัย
ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์
หากกำหนดปัญหาการวิจัยถูกต้องชัดเจน
การวิจัยย่อมจะประสบผลสำเร็จในการแก้ไขปัญหา แต่หากปัญหาการวิจัยผิดพลาด การวิจัยยอมจะล้มเหลวตามไปด้วย
http://www.docstoc.com/documents/most-recent กล่าว่าสภาพปัญหาที่เลือกมาศึกษา
ต้องอ้างอิงหลักฐานจากทฤษฎีหรืองานวิจัยอื่นเพื่อสร้างความหนักแน่นให้แก่เหตุผลที่จะต้องศึกษาเรื่องนี้ ความสำคัญของปัญหา พิจารณาได้จาก
1. กล่าวนำเข้าสู่ปัญหาอย่างมีลำดับขั้นตอน ชัดเจน
รัดกุมโดยมีการทบทวนวรรณกรรมพอสังเขป
โดยเขียนอธิบายในภาพรวมของปัญหา (Macro) มาสู่ประเด็นปัญหาที่เจาะจงจะศึกษาวิจัยที่แคบลง
(Micro)
2.
ระบุว่าปัญหาคืออะไร มีข้อมูล หลักฐานยืนยันว่าเป็นความจริง
3. กล่าวถึงความรุนแรงของปัญหามีมากน้อยเพียงใด ส่งผลกระทบถึงส่วนรวมอย่างไร บ้าง
และมีแนวโน้มที่จะรุนแรงต่อไปในอนาคตอย่างไร
4.
ระบุความจำเป็นที่จะต้องมีการวิจัย
5. ผลที่ได้จากการวิจัยจะช่วยแก้ปัญหาอย่างไร
สรุป ความเป็นมาและความสำคัญ
อาจเรียกต่างๆกัน เช่น หลักการและเหตุผล ภูมิหลังของปัญหา
ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย หรือ ความสำคัญของโครงการวิจัย ฯลฯ
ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร ต้องระบุว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร ผู้วิจัยต้องแสดงให้เห็นว่า
มีความรู้พื้นฐานและเข้าใจในปัญหาที่กำลังจะศึกษาอย่างชัดเจนทั้งทางทฤษฎี
และปฏิบัติ ต้องระบุว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร มีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร
มีความสำคัญ รวมทั้งความจาเป็น คุณค่า และประโยชน์
ที่จะได้จากผลการวิจัยในเรื่องนี้
ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ที่ใดบ้าง
และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่าต่องานด้านนี้อย่างไรโดยให้มีความกระชับเข้าใจง่าย
การเขียนนำเข้าสู่ปัญหาวิจัยควรเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวปัญหา
โดยเขียนให้ข้อมูลที่ชัดเจนว่า ณ
เวลาปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยในอดีตที่สามารถตอบปัญหาดังกล่าวได้
และปัญหาดังกล่าวสมควรได้รับการแก้ไขด้วยการหาคำตอบ โดยกระบวนการวิจัย
....................................................................................................................................................................................................
อ้างอิง
- http://blog.eduzones.com/jipatar/859211 เข้าถึงเมื่อ 25/12/2555
- http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re4.htm เข้าถึงเมื่อ 25/12/2555
- http://www.docstoc.com/documents/most-recent เข้าถึงเมื่อ 25/12/2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น