วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556


14. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)

            http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm  กล่าวว่าการเลือกใช้สถิติ จะต้องเหมาะสมกับคำถาม วัตถุประสงค์ และรูปแบบการวิจัย โดยสถิติจะช่วยหลีกเลี่ยง ความคลาดเคลื่อนแบบสุ่ม ในส่วนที่เกี่ยวกับ การวิเคราะห์ข้อมูล ควรให้รายละเอียดเกี่ยวกับ
                1. การสรุปข้อมูล (Summarization of Data) ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับ ชนิดของข้อมูลเชิงคุณภาพ (qualitaive data) หรือข้อมูลเชิงปริมาณ (quantitative data) (ดูที่ภาพ 11)
                2. การนำเสนอข้อมูล (Data Presentation) เพื่อสื่อความหมาย ระหว่างนักวิจัย และผู้อ่านผลการวิจัย ทำให้เข้าใจได้ง่าย และเป็นการประหยัดเวลา ในการเขียนบรรยายผลที่ได้ การนำเสนอข้อมูล ต้องเลือกให้สอดคล้อง กับลักษณะของข้อมูลเช่นกัน (ดูที่ภาพ 11)
                3. การทดสอบสมมติฐาน (ypothesis testing) โดยระถึง สถิติที่เหมาะสม ที่จะใช้ในการทดสอบสมมติฐานนั้น ทั้งนี้ ขึ้นกับปัจจัย 2 ประการ คือ ลักษณะการเปรียบเทียบ ระหว่างกลุ่มที่มีความสัมพันธ์กัน) และการสรุปข้อมูล

                http://www.watpon.com/Elearning/res8.htm  กล่าวว่าการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) เป็นการเลือกสรรข้อมูล จัดประเภทข้อมูลหรือจัดหมวดหมู่ของข้อมูล เพื่อให้สะดวกต่อการที่จะนำไปวิเคราะห์ในอันที่จะนำไปตรวจสอบสมมติฐานตลอดจนพิจารณาเลือกใช้สถิติที่จะวิเคราะห์ให้เหมาะสมกับลักษณะของข้อมูล เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลแล้วก็คิดหาวิธีการนำเสนอค่าสถิติที่ได้ว่าควรจัดเสนอแบบใดจึงจะเหมาะสม และมีความหมายมากที่สุด เพื่อประโยชน์ในการเขียนรายงานการวิจัย

                http://kalai.exteen.com/20051124/entry-6  กล่าวว่าการวิเคราะห์ข้อมูลการออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis Design) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of data) เป็นการจำแนกข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อจัดข้อมูลต่าง ๆ ให้เป็นระบบหมวดหมู่ แล้วใช้ค่าสถิติช่วยในการสรุปลักษณะของข้อมูลนั้น ๆ ตามลักษณะของตัวแปรที่ศึกษา ในกรณีที่เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ จะแตกต่างกับการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้การวิเคราะห์โดยการจำแนกชนิดและการเปรียบเทียบลักษณะของข้อมูลเพื่อหาความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันของปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยอาศัยกรอบแนวคิดและทฤษฎีช่วยในการสร้างข้อสรุปนั้น

                สรุป        การวิเคราะห์ข้อมูล  เป็นการจำแนกข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อจัดข้อมูลต่าง ๆ ให้เป็นระบบหมวดหมู่ การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการเลือกใช้สถิติให้เหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการวิจัย ซึ่งการเลือกใช้สถิติให้เหมาะสมนั้น ผู้วิจัยควรทราบว่าข้อมูลที่มีอยู่นั้นเป็นข้อมูลชนิดอะไร สถิติที่เลือกมาใช้นั้นมีข้อตกลงเบื้องต้นอะไรบ้าง และค่าสถิติต่างๆ นั้นจะใช้ในสถานการณ์อะไรบ้าง วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล มีเป้าหมายเพื่อสรุปปัญหาที่ทำวิจัยไว้แล้วเป็นการพิสูจน์ความแท้จริงของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาใช้   และการตีความข้อมูลนั้นคือกระบวนการวิจัย  เพื่อเรียนรู้อะไร  เพื่ออธิบายสิ่งที่ได้มาคืออะไร  และขยายความตามเหตุผลว่าทำไมจึงเป็นอย่างนั้น  เพื่อสรุปเป็นผลการศึกษาวิจัย

.................................................................................................................................................................................................
อ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น