วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

1.1(1)  ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง(Mental Discipline) 


                http://www.wija48.com  กล่าวว่า  จิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind)  สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก  ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร  จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น  หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา  วิธีการสอนแบบโสเครติส(Socratic Method)  และวิธีการสอนแบบบรรยาย(Didactic Method)  เป็นวิธีการสอนตามทฤษฏีนี้ที่ใช้คำถามเพื่อดึงความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้กระจ่างชัดและช่วยเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน  ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
                http://www.th.wikipedia.org/wiki/  กล่าวว่า  แนวความคิดของ มาสโลว์ (Maslow) ที่ได้อธิบายถึงลำดับความต้องการของมนุษย์ โดยที่ความต้องการจะเป็น ตัวกระตุ้นให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมเพื่อไปสู่ความต้องการนั้น ดังนี้ถ้าเข้าใจความต้องการของมนุษย์ก็สามารถ อธิบายถึงเรื่องแรงจูงใจของมนุษย์ได้เช่นเดียวกัน ทฤษฎีนี้เห็นว่าแรงจูงใจในการกระทำพฤติกรรมของมนุษย์นั้นขึ้นอยู่กับการรับรู้ (Perceive) สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว โดยอาศัยความสามารถทางปัญญาเป็นสำคัญ มนุษย์จะได้รับแรงผลักดันจากหลาย ๆ ทางในการแสดงพฤติกรรม ซึ่งในสภาพเช่นนี้ มนุษย์จะเกิดสภาพความไม่สมดุล (Disequilibrium) ขึ้น เมื่อเกิดสภาพเช่นว่านี้มนุษย์จะต้อง อาศัยขบวนการดูดซึม (Assimilation) และการปรับ (Accomodation) ความแตกต่างของประสบการณ์ที่ได้รับใหม่ให้ ้เข้ากับประสบการณ์เดิมของตนซึ่งการจะทำได้จะต้องอาศัยสติปัญญาเป็นพื้นฐานที่สำคัญทฤษฎีนี้เน้นเรื่องแรงจูง ใจภายใน(intrinsic Motivation) นอกจากนั้นทฤษฎีนี้ยังให้ความสำคัญกับเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และการวางแผน ทฤษฎีนี้ให้ความสำคัญกับระดับของความคาดหวัง (Level of Aspiration) โดยที่เขากล่าวว่าคนเรามีแนวโน้มที่จะตั้ง ความคาดหวังของตนเองให้สูงขึ้น เมื่อเขาทำงานหนึ่งสำเร็จ และตรงกัน ข้ามคือจะตั้งความคาดหวังของตนเองต่ำลง เมื่อเขาทำงานหนึ่งแล้วล้มเหลว
                สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา (http://surinx.blogspot.com/)  กล่าวว่า  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า จิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องโดยการฝึก เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อซึ่งจะแข็งแรงได้ด้วยการฝึกออกกำลังกาย ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งมากขึ้นเท่านั้น นักคิดกลุ่มนี้มีแนวคิดแยกออกเป็น 3 กลุ่มย่อย คือ
              1. สมองของมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็นส่วน ๆ (faculties) ซึ่งหากได้รับการฝึกอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้
             2. การฝึกสมองหรือฝึกระเบียบวินัยของจิตเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาให้มนุษย์เป็นคนดีและฉลาด
             3. การฝึกฝนสมองให้รู้จักคิด ต้องใช้วิชาที่ยาก เช่นวิชาคณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาลาติน ภาษากรีกและคัมภีร์ใบเบิล เป็นต้น
หลักการจัดการศึกษา/การสอน
            1. การฝึกจิตจะต้องทำอย่างเข้มงวด เพื่อให้จิตเข้มแข็ง การบังคับ ลงโทษเป็นสิ่งจำเป็นถ้าผู้เรียนไม่เชื่อฟัง
             2. การจัดให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาวิชาที่ยาก ได้แก่ คณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาลาตินและภาษากรีก จะช่วยฝึกฝนสมองให้เข้มแข็งได้เป็นอย่างดี
             3. การจัดให้ผู้เรียนได้ศึกษาคัมภีร์ใบเบิลและยึดถือในพระเจ้า จะช่วยให้ผู้เรียนเป็นคนดี
       2. กลุ่มที่เชื่อในความมีเหตุผลของมนุษย์ (Humanistic Mental Discipline) นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ พลาโต (Plato) และอริสโตเติล (Aristotle) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ ดังนี้
ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
             1. มนุษย์เกิดมามีลักษณะไม่ดีไม่เลว และการกระทำของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายใน (neutral - active)
             2. มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง มนุษย์มีอิสระที่จะเลือกทำตามความเข้าใจและเหตุผลของตน หากได้รับการฝึกฝนอบรมก็จะสามารถพัฒนาศักยภาพที่ติดตัวมา
             3. มนุษย์มีความรู้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แต่ถ้าขาดการกระตุ้นความรู้จะไม่แสดงออกมา
หลักการจัดการศึกษา/การสอน
             4. การพัฒนาผู้เรียนไม่จำเป็นต้องใช้การบังคับ เคี่ยวเข็ญ แต่ควรใช้เหตุผลเพราะมนุษย์เกิดมาพร้อมกับความสามารถในการใช้เหตุผล
            5. การใช้วิธีสอนแบบโสเครตีส (Socratic Method) คือการใช้คำถามเพื่อดึงความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้เห็นกระจ่างชัด เป็นวิธีสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
            6. การใช้วิธีสอนแบบบรรยาย (Didactic Method) คือการสอนที่ใช้คำถามฟื้นความจำของผู้เรียน แล้วเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน เป็นวิธีสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีอีกวิธีหนึ่ง

       1. กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า (Theistic Mental Discipline ) นักคิดที่สำคัญของกลุ่มนี้คือ เซนต์ออกุสติน (St. Augustine) จอห์น คาลวิน (John Calvin) และคริสเตียน โวล์ฟ (Christian Wolff) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ ดังนี้
ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
              1. มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความชั่วและการกระทำใด ๆ ของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง
              2. มนุษย์พร้อที่จะทำความชั่วหากไม่ได้รับการสั่งสอนอบรม
             3. การฝึกสมองหรือการฝึกระเบียบของจิตอย่างเข้มงวด เป็นสิ่งสำคัญในการฝึกให้บุคคลเป็นคนฉลาดและคนดี
             4. พัฒนาการในเรื่องต่าง ๆ เป็นความสามารถของมนุษย์ มิใช่พระเจ้าบันดาลให้เกิด
             5. การพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ คือการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา

                สรุปทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง  เป็นกลุ่มที่พูดถึงจิต สมอง และสติปัญญาของบุคคลว่ามีความแตกต่างกัน ซึ่งสามารถที่ฝึกและพัฒนาให้ปราดเปรื่องขึ้นได้ หากบุคคลได้รับการเรียนรู้และฝึกฝนเป็นอย่างดี และเมื่อบุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากมากขึ้นเท่าไร จิตและสมองก็จะแข็งแกร่งมากขึ้นเท่านั้น


เอกสารอ้างอิง
  •  http://www.wija48.com เข้าถึงเมื่อ 3 กรกฏาคม 2555
  •  http://www.th.wikipedia.org/wiki/ เข้าถึงเมื่อ 3 กรกฏาคม 2555
  •  สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา. [ออนไลน์] (http://surinx.blogspot.com/) เข้าถึงเมื่อ 3 กรกฏาคม 2555

1.1(2)  ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ (Natural Unfoldment)

 

               ณัชชากัญญ์  วิรัตนชัยวรรณ. (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486) กล่าวว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่ และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน

             เทอดชัย  บัวผาย. (http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7)           กล่าวว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่ และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน ให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก

               http://www.oknation.net/blog/print.php?id=294321 นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญเด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ  การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก  เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่ และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน ให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก

               สรุปทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ  เป็นการให้เด็กเกิดการเรียนรู้เองตามธรรมชาติโดยเรียนรู้จากการสัมผัส การกระทำ การพูด  และจัดให้เด็กได้เรียนในระดับชั้นอนุบาล ซึ่งเด็กจะเกิดประสบการณ์โดยตรงที่จะทำให้เด็กเกิดการพัฒนาอย่างเป็นลำดับขั้น


เอกสารอ้างอิง
  •  ณัชชากัญญ์  วิรัตนชัยวรรณ. [ออนไลน์] (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486)      เข้าถึงเมื่อ 4 กรกฏาคม 2555
  • เทอดชัย  บัวผาย. [ออนไลน์] (http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7เข้าถึงเมื่อ 4 กรกฏาคม 2555 
  •  http://www.oknation.net/blog/print.php?id=294321 เข้าถึงเมื่อ 4 กรกฏาคม 2555



1.1(3)ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Apperception)


               (http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7) กล่าวว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation) และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี
               (http://dontong52.blogspot.com/ ) กล่าวว่าทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Apperception or Herbartianism)นักคิดคนสำคัญของกลุ่มนี้ คือ จอห์น ล็อค วิลเฮล์ม วุนด์ ทิชเชเนอร์ และแฮร์บาร์ด ซึ่งมีความเชื่อ ดังนี้
        1) มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดี ความเลวในตัวเอง การเรียนรู้เกิดจากสิ่งแวดล้อม
        2) จอห์น ล็อค เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากบุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5
       3) วุนด์ เชื่อว่า จิตมีองค์ประกอบ ส่วน คือ การสัมผัสทั้ง การรู้สึกและจินตนาการ
        4) ทิชเชเนอร์เชื่อว่าจิตมีองค์ประกอบ ส่วน คือ การสัมผัสทั้ง การรู้สึก และจินตนาการ
        5) แฮร์บาร์ต เชื่อว่า การเรียนรู้มี ระดับ คือ ขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส ขั้นจำ ความคิดเดิม และขั้นการเกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจ
        6) แฮร์บาร์ต เชื่อว่า การสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนเสียก่อนแล้วจึงเสนอความรู้ใหม่
               Dr.Surin.( http://surinx.blogspot.com/ ) กล่าวว่า
               1.แฮร์บาร์ต เชื่อว่าการเรียนรู้มี ระดับคือขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส (sens activity) ขั้นจำความคิดเดิม (memory characterized)และขั้นเกิดความคิดรวบยอดและเข้าใจ (conceptual thinking or understanding) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง และสั่งสมประสบการณ์หรือความรู้เหล่านี้ไว้ การเรียนรู้นี้จะขยายขอบเขตออกไปเรื่อย ๆ เมื่อบุคคลได้รับประสบการณ์หรือความรู้ใหม่เพิ่มขึ้นโดยผ่านกระบวนการเชื่อมโยงและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้เดิมเข้าด้วยกัน ( apperception)
               2.แฮร์บาร์ต เชื่อว่าการสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนเสียก่อนแล้วจึงเสนอความรู้ใหม่ ต่อไปควรจะช่วยให้ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ จนได้ข้อสรุปที่ต้องการแล้วจึงให้ผู้เรียนนำข้อสรุปที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับปัญหาหรือสถานการณ์ใหม่ ๆ

               กล่าวโดยสรุป ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5  และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี


เอกสารอ้างอิง
  • http://www.blogger.com/goog_2045011330                                        เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฏาคม 2555
  • http://dontong52.blogspot.com/                                                    เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฏาคม 2555
  • Dr.Surin. [ออนไลน์] ( http://surinx.blogspot.com/ )                        เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฏาคม 2555