วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


1.2(4) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne’s eclecticism)

              
              เทอดชัย  บัวผาย  (http://www.blogger.com/goog_11190624227) 
กล่าวว่า แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ ความรู้มีหลายประเภท บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง บางประเภทมีความซับซ้อนมาก จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด 9 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจ(Gaining attention)
ขั้นที่ 2 แจ้งจุดประสงค์(Informing the learning)
ขั้นที่ 3 กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น(Stimulating recall of prerequisite learned capabilities)
ขั้นที่ 4 เสนอบทเรียนใหม่(Presenting the stimulus)
ขั้นที่ 5 ให้แนวทางการเรียนรู้(Providing learning guidance)
ขั้นที่ 6 ให้ลงมือปฏิบัติ(Eliciting the performance)
ขั้นที่ 7 ให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback)
ขั้นที่ 8 ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์(Assessing the performance)
ขั้นที่ 9 ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้(Enhancing retention and transfer)

              รศ.ดร.เสาวลักษณ์ รัตนวิชช์ (2543 : 81-82) กล่าวว่า  ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่  20 และหลักการจัดการเรียนการสอนไว้ดังนี้  แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ ความรู้มีหลายประเภท บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง บางประเภทมีความซับซ้อนมาก จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด 9 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจ(Gaining attention)
ขั้นที่ 2 แจ้งจุดประสงค์(Informing the learning)
ขั้นที่ 3 กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น(Stimulating recall of prerequisite learned capabilities)
ขั้นที่ 4 เสนอบทเรียนใหม่(Presenting the stimulus)
ขั้นที่ 5 ให้แนวทางการเรียนรู้(Providing learning guidance)
ขั้นที่ 6 ให้ลงมือปฏิบัติ(Eliciting the performance)
ขั้นที่ 7 ให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback)
ขั้นที่ 8 ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์(Assessing the performance)
ขั้นที่ 9 ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้(Enhancing retention and transfer)



              ปรียาพร  วงศ์อนุตรโรจน์  (2543 : 86-88 ) ได้ผสมผสานทฤษฎีพฤติกรรมนิยมกับทฤษฏีความรู้ความเข้าใจ  แล้วสรุปเป็น  8  ขั้นตอนในการเรียนรู้
                1.  การเรียนรู้สัญญาณ  ( Sign  Learning ) เป็นการเรียนรู้ที่อยู่ในระดับต่ำสุด  เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นอย่างไม่ตั้งใจ  เช่น  จกการทดลองการหลั่งน้ำลายของสุนัข  เมื่อสุนัขได้ยินเสียงกระดิ่ง  ตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไขของ  Pavlov  การเรียนรู้สัญญาณเป็นสิ่งที่เราสามารถสังเกตเห็นจากชีวิตประจำวันของเรา  ได้แก่  การกระพริบตา  เมื่อมีของมากระทบตาเรา
                2.  การเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง  ( Stimulus  Response  Learning )เป็นการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายต่อสิ่งเร้า  เป็นการเน้นข้อต่อระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองโดยผู้เรียนเป็นผู้กระทำเอง  เช่น  การทดลองจิกแป้นสีของนกพิราบจากการทดลองของ Skinner
                3.  การเรียนรู้การเชื่อมโยง  ( Chaining )   เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองติดต่อกับเป็นการเรียนรู้ในด้านทักษะ  เช่น  การเขียน  การอ่าน  การพิมพ์ดีด  และการเล่นดนตรี  เป็นต้น
                4.  การเชื่อมโยงทางภาษา  ( Verbal  Association ) เป็นการเชื่อมโยงความหมายทางภาษาโดยออกมาเป็นคำพูด  แล้วจึงใช้ตัวอักษร  เช่น  การเรียนการใช้ภาษา รวมทั้งการเขียนตัวอักษรด้วย
                5.  การแยกประเภท  ( Multiple  Discrimination  Learning ) เป็นความสามารถในการแยกสิ่งเร้าและการตอบสนอง  ผู้เรียนเห็นความแตกต่างของสิ่งของประเภทเดียวกัน  เป็นการจำแนกความแตกต่างด้านทักษะและภาษา  สามารถแยกลักษณะของลายเส้นจากหมึกได้
                6.  การเรียนรู้ความคิดรวบยอด  ( Concept  Learning ) เป็นความสามารถที่ผู้เรียนมองเห็นลักษณะร่วมของสิ่งต่างๆ  เช่น  เมื่อนึกถึงวิทยุก็นึกถึงความถี่ของเสียง  การใช้ไฟฟ้าและแบตเตอรี่การรับฟังข่าวสาระบันเทิงได้
                7.  การเรียนรู้หลักการ  ( Principle  Learning ) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการนำความคิดรวบยอดสองความคิดหรือมากกว่านั้นมาสัมพันธ์กัน  แล้วสรุปตั้งเป็นกฎเกณฑ์ขึ้น  เช่น  ไฟฟ้าเป็นสื่อนำความร้อน
                8.  การเรียนรู้การแก้ปัญหา  ( Problem - Solving ) การเรียนรู้ด้วยการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากที่ผู้เรียนนำหลักการที่มีประสบการณ์มาก่อนมาใช้ในการแก้ปัญหา  เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมและปัญหา  เช่น  ไฟฟ้าเป็นสื่อนำความร้อน  เราก็นำไฟฟ้ามาใช้หุงต้มได้


สรุป
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne’s eclecticism) แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ ความรู้มีหลายประเภท บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง บางประเภทมีความซับซ้อนมาก จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายาก
1. กาเย (Gagne) ได้จัดประเภทของการเรียนรู้ เป็นลำดับขั้นจากง่ายไปหายากไว้ ประเภท ดังนี้
1.1 การเรียนรู้สัญญาน(signal-learning)
1.2 การเรียนรู้สิ่งเร้า-การตอบสนอง(stimulus-response)
1.3 การเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง (chaining)
1.4 การเชื่อมโยงทางภาษา (verbal association)
1.5 การเรียนรู้ความแตกต่าง (discrimination learning)
1.6 การเรียนรู้ความคิดรวบยอด (concept learning)
1.7 การเรียนรู้กฎ (rule learning)
1.8 การเรียนรู้การแก้ปัญหา (problem solving)
2. กาเยได้แบ่งสมรรถภาพการเรียนรู้ของมนุษย์ไว้ ประการ ดังนี้   
2.1 สมรรถภาพในการเรียนรู้ข้อเท็จจริง (verbal information)
2.2 ทักษะเชาว์ปัญญา (intellectual skills)
2.3 ยุทธศาสตร์ในการคิด (cognitive strategies)
2.4 ทักษะการเคลื่อนไหว (motor skills)
2.5 เจตคติ(attitudes)

..............................................................................................................................................

อ้างอิง
  • http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7  เข้าถึงเมื่อ  15/07/ 2555
  • ทิศนา แขมมณี.2550. ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • http://www.isu.ob.tc/5.3.html  เข้าถึงเมื่อ 22/07/2555

1.2(3) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)


บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง (http://dontong52.blogspot.com/ ) กล่าวว่า นักคิดกลุ่มมนุษยนิยม ให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์ และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่ามีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ นักจิตวิทยาคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ มาสโลว์ รอเจอร์ส โคม โนลส์ แฟร์ อิลลิซ และนีล
1. ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ (Maslow, 1962)
 1.1) มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับชั้น
 1.2) มนุษย์มีความต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง
2. ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์ส (Rogers)
 2.1) การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น ปลอดภัย.
 2.2) ผู้เรียนแต่ละคนมีศักยภาพและแรงจูงใจที่จะพัฒนาตนเองอยู่แล้ว
 2.3) ในการจัดการเรียนการสอนควรเน้นการเรียนรู้กระบวนการเป็นสำคัญ
3. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์ (Combs) โคมส์ เชื่อว่าความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
4. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของ โนลส์ (Knowles)
 4.1) ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
 4.2) การเรียนรู้ของมนุษย์เป็นกระบวนการภายใน
 4.3) มนุษย์จะเรียนรู้ได้ดีหากมีอิสระที่จะเรียนในสิ่งที่ตนต้องการ
 4.4) มนุษย์ทุกคนมีลักษณะเฉพาะตน
 4.5) มนุษย์เป็นผู้มีความสามารถและเสรีภาพที่จะตัดสินใจ
5. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์ (Faire)เปาโล แฟร์ เชื่อในทฤษฎีของผู้ถูกกดขี่ ผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า
6. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอิลลิช (Illich) อิวาน อิลลิช ได้เสนอความคิดเกี่ยวกับการล้มเลิกระบบโรงเรียน การศึกษาควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิตแบบเป็นไปตามธรรมชาติ
7. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล (Neil) นีล กล่าวว่า มนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี มีความดีโดยธรรมชาติหากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น มีอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดี
ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์ กล่าวว่า แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ การจัดบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนรู้และเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยครูเป็นผู้ชี้แนะและทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนและการเรียนรู้จะเน้นกระบวนการเป็นสำคัญ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเรียนรู้กระบวนการเป็นสำคัญ ควรจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น ปลอดภัย ครูควรสอนแบบชี้แนะโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้นำทางในการเรียนรู้ของตนและคอยช่วยเหลือผู้เรียนให้เรียนอย่างสะดวกจนบรรลุผล

                ทิศนา แขมมณี ผู้รวบรวม(2550 : 201-202)  ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์  แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้  คือ  มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น  และต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าถึงความต้องการพื้นฐานของผู้เรียน  และตอบสนองความต้องการพื้นฐานนั้นอย่างพอเพียง  ให้อิสรภาพและเสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้  มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ซึ่งช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ในการรู้จักตนเองตามสภาพความเป็นจริง มาสโลว์ ได้แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ขั้นเรียงตามลำดับ ดังนี้
ขั้นที่ 1 ความต้องการทางกาย (Physiological Needs) คือความต้องการปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต
ขั้นที่ 2 ความต้องการความ มั่นคงปลอดภัย (Safety and Security Needs) คือความต้องการที่จะมีชีวิต ที่มั่นคง ปลอดภัย
ขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม (Love and Belonging Needs) มนุษย์เมื่อเข้าไปอยู่ในกลุ่มใดก็ต้องการให้ตนเป็นที่รักและยอมรับในกลุ่มที่ตนอยู่
ขั้นที่ 4 ความต้องการได้ รับการยกย่องจากผู้อื่น (Self -Esteem Needs) เป็นความต้องการในลำดับต่อมา ซึ่งความต้องการในชั้นนี้ถ้าได้รับจะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจใจตนเอง
ขั้นที่ 5 ความต้องการในการเข้าใจและรู้จักตนเอง (Self-Actualization Needs) เป็นความต้องการชั้นสูงของมนุษย์ ซึ่งน้อยคนที่จะประสบได้ถึงขั้นนี้

ดร.สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา ( http://surinx.blogspot.com/ )  แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของ โนลส์(Knowles)
                1. ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
2.การเรียนรู้ของมนุษย์เป็นกระบวนการภายใน อยู่ในความควบคุมของผู้เรียนแต่ละคน ผู้เรียนจะนำประสบการณ์ ความรู้ ทักษะและค่านิยมต่างๆเข้ามาสู่การเรียนรู้ของตน
3.มนุษย์จะเรียนรู้ได้ดีหากมีอิสระที่จะเรียนในสิ่งที่ตนต้องการและด้วยวิธีการที่ตนพอใจ
4.มนุษย์ทุกคนมีลักษณะเฉพาะตน ความเป็นเอกัตบุคคลเป็นสิ่งที่มีคุณค่า มนุษย์ควรได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาความเป็นเอกัตบุคคลของตน
5.มนุษย์เป็นผู้มีความสามารถและเสรีภาพที่จะตัดสินใจ และเลือกกระทำสิ่งต่างๆตามที่ตนพอใจ และรับผิดชอบในผลของการกระทำนั้น

สรุป
กลุ่มมนุษยนิยมได้กล่าวว่าเป็นการมองมนุษย์ว่ามีคุณค่ามีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ นักจิตวิทยาคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ มาสโลว์ รอเจอร์ส โคม ดนเลส์ แฟร์ อิลลิซ และนีล
            1. ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ (Maslow, 1962)
        1.1) มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับชั้น
        1.2) มนุษย์มีความต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง
            2. ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์ส (Rogers)
        2.1) การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น ปลอดภัย
        2.2) ผู้เรียนแต่ละคนมีศักยภาพและแรงจูงใจที่จะพัฒนาตนเองอยู่แล้ว
        2.3) ในการจัดการเรียนการสอนควรเน้นการเรียนรู้กระบวนการเป็นสำคัญ
            3. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์ (Combs)  โคมส์ เชื่อว่าความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
                4. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของ โนลส์ (Knowles)
         4.1) ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
        4.2) การเรียนรู้ของมนุษย์เป็นกระบวนการภายใน
        4.3) มนุษย์จะเรียนรู้ได้ดีหากมีอิสระที่จะเรียนในสิ่งที่ตนต้องการ
        4.4) มนุษย์ทุกคนมีลักษณะเฉพาะตน
        4.5) มนุษย์เป็นผู้มีความสามารถและเสรีภาพที่จะตัดสินใจ
5. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์ (Faire)  เปาโล แฟร์ เชื่อในทฤษฎีของผู้ถูกกดขี่ ผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า2.3.6 แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอลลิช (Illich)
6.อิวาน อิลลิช ได้เสนอความคิดเกี่ยวกับการล้มเลิกระบบโรงเรียน การศึกษาควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิตแบบเป็นไปตามธรรมชาติ
            7.แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล (Neil) นีล กล่าวว่า มนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี มีความดีโดยธรรมชาติหากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น มีอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดี
..............................................................................................................................................
อ้างอิง

  •  http://dontong52.blogspot.com/    เข้าถึงเมื่อวันที่ 14/07/2555
  •  http://surinx.blogspot.com  เข้าถึงเมื่อวันที่ 14/07/2555
  • ทิศนา แขมมณี. (2545).ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



1.2(2) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitive)


ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (2549 : 279-280)กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitive) เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมายและความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง ทฤษฏีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี ทฤษฏี คือ
ทฤษฎีเกสตัลท์ (Gestalt Theory) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์ บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นกระบวนการคิด การสอนโดยเสนอภาพรวมก่อนการเสนอส่วนย่อย ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากและหลากหลายซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามรถคิดแก้ปัญหา คิดริเริ่มและเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นได้
ทฤษฎีสนาม (Field Theory) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าไปอยู่ใน โลก” ของผู้เรียน การสร้างแรงจูงใจหรือแรงขับโดยการจัดสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและจิตวิทยาให้ดึงดูดความสนใจและสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory) ของทอลแมน (Tolman) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการสร้างแรงขับและหรือแรงจูงใจให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายใดๆ โดยใช้เครื่องหมาย สัญลักษณ์หรือสิ่งอื่นๆ ที่เป็นเครื่องชี้ทางควบคู่ไปด้วย
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา(Intellectual Development Theory) นักคิดคนสำคัญของทฤษฏีนี้มีอยู่ ท่าน ได้แก่ เพียเจต์(Piaget) และบรุนเนอร์(Bruner) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เน้นเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญญาของบุคคลที่เป็นไปตามวัยและเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากระบวนการการค้นพบด้วยตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ คำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนและจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการนั้น ให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากๆ ควรเด็กได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระและสอนการคิดแบบรวบยอดเพื่อช่วยส่งงเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผุ้เรียน
ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (A Theory of Meaningful Verbal Learning) ของออซูเบล (Ausubel) เชื่อว่า การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ มีการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์ หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย

             เติมศักดิ์ คถวณิช (2549 : 281-282) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม(Cognitivism)  เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด  ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น  การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น  ทฤษฏีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี  5  ทฤษฏี  คือ  
                -   ทฤษฎีเกสตัลท์ (Gestalt Theory)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์  บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย 
                -   ทฤษฎีสนาม (Field Theory)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ 
                -   ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory)  ของทอลแมน(Tolman)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง 
                -   ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development Theory)  นักคิดคนสำคัญของทฤษฏีนี้มีอยู่  2  ท่าน  ได้แก่  เพียเจต์(Piaget)  และบรุนเนอร์(Bruner)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เน้นเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญญาของบุคคลที่เป็นไปตามวัยและเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากระบวนการการค้นพบด้วยตนเอง  
             -   ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย(A Theory of Meaningful Verbal Learning)  ของออซูเบล(Ausubel)  เชื่อว่า  การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน  หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  มีการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์  หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ  จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย

                ดร.สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา  (http://surinx.blogspot.com )  กล่าวว่านักกลุ่มพุทธนิยมหรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจหรือกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด นักคิดกลุ่มนี้เริ่มขยายขอบเขตของความคิดที่เน้นทางด้านพฤติกรรมออกไปสู่กระบวนการทางความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจาการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ตนเอง  ทฤษฎีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี ทฤษฎี คือ      
                1.ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญของทฤษฎีนี้ คือ แมกซ์ เวอร์ไทเมอร์(Max Wertheimer) วุล์แกงค์ โคห์เลอร์ (Wolfgang Kohler) เคริ์ท คอฟฟ์กา (Kurt Koffka) และเคริ์ท เลวิน (Kurt Lewin)
                2.ทฤษฎีสนาม(Field Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญ คือ เคริ์ท เลวินซึ่งได้แยกตัวจากกลุ่มทฤษฎีเกสตัลท์ ในระยะหลัง           
                3.ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory) ของทอลแมน(Tolman)
             4.ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Inlellectual Development Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญคือ เพียเจต์ (Piaget) และบรุนเนอร์ (Bruner)           
         5.ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ( A Theory of Meaningful Verbal Learning) ของออซูเบล (Ausubel)

สรุป
                กลุ่มพุทธนิยม หรือกลุ่มความรู้ ความเข้าใจ หรือกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด โดยเชื่อว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ ในการที่จะสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ตนเองเน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมองการเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง  ทฤษฏีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี  5  ทฤษฏี  คือ  
                -   ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt Theory)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์ 
                -   ทฤษฎีสนาม(Field Theory)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ 
                  -   ทฤษฎีเครื่องหมาย(Sign Theory)  ของทอลแมน(Tolman)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง 
                -   ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา(Intellectual Development Theory)  นักคิดคนสำคัญของทฤษฏีนี้มีอยู่  2  ท่าน  ได้แก่  เพียเจต์(Piaget)  และบรุนเนอร์(Bruner) 
      -   ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย(A Theory of Meaningful Verbal Learning)  ของออซูเบล(Ausubel)  เชื่อว่า  การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน  หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน 
.................................................................................................................................................


อ้างอิง
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัชราเอิบสุขสิริ.เอกสารประกอบการเรียนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู.มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
  •  http://surinx.blogspot.com/  เข้าถึงเมื่อ 13/07/2555
  • http://theory-tishafan.blogspot.com/p/cognitivism.html  เข้าถึงเมื่อ  22/07/2555

1.2(1) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)



       สุรางค์  โค้วตระกูล. (2544 : 185 -186)  กล่าวไว้ว่า นักคิด นักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนิยมมองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะเป็นกลาง คือ ไม่ดีไม่เลว (neutral-passive)  การกระทำต่าง ๆ เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (stimulus-response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสำคัญกับ พฤติกรรม มาก เพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่สังเกตเห็นได้ สามารถวัดและทดสอบได้ ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มพฤติกรรมนิยม ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญ แนวคิด ดังต่อไปนี้
                            1.        ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism Theory)
                            2.        ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)
                            3.        ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory)


         เติมศักดิ์ คถวณิช (2549 : 273-275) กล่าวว่า ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism) นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง  คือ  ไม่ดี – ไม่เลว  การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก  พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus response)  การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง  กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ   พฤติกรรม”  มากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด  สามารถวัดและทดสอบได้  ทฤษฏีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้  ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญๆ 3 แนวด้วยกัน  คือ
                            -   ทฤษฎีการเชื่อมโยง(Classical Connectionism)  ของธอร์นไดค์(Thorndike)  มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจาการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง  ซึ่งมีหลายรูปแบบ  บุคคลจะมีการลองผิดลองถูกปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมากที่สุดเมื่อเกิดการเรียนรู้แล้วบุคคลจะใช้รูปแบบการตอบสนองที่เหมาะสมเพียงรูปแบบเดียวและจะพยายามใช้รูปแบบนั้นเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าในการเรียนรู้ต่อไปเรื่อยๆ การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนแบบลองผิดลองถูกบ้าง มีการสำรวจความพร้อมของผู้เรียนซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องกระทำก่อนการสอนบทเรียน  เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้วครูควรฝึกให้ผู้เรียนฝึกการนำการเรียนรู้นั้นไปใช้บ่อยๆ การศึกษาว่าสิ่งใดเป็นสิ่งเร้าหรือรางวัลที่ผู้เรียนพึงพอใจจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
                            -   ทฤษฎีการวางเงื่อนไข(Conditioning Theory)  ประกอบด้วยทฤษฏีย่อย 4 ทฤษฏี  ดังนี้ 
                      1)  ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของพาฟลอฟ (Pavlov’s Classical Conditioning)  เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
                    2) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของวัตสัน (Watson’s Classical Conditioning)  เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเช่นกัน สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า  การเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
                 3)  ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี(Guthrie’s Contiguous Conditioning) เน้นหลักการจูงใจ  สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า  การเรียนรู้เมื่อเกิดขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียว  ก็นับว่าได้เรียนรู้แล้วไม่จำเป็นต้องทำซ้ำอีก
                     4) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกินเนอร์(Skinner’s Operant Conditioning) 
 เน้นการเสริมแรงหรือให้รางวัล  สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า  การกระทำใดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก  การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเสนอสิ่งเร้าในการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง  มีการเสริมแรงหรือให้รางวัลเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจที่จะเรียนรู้
                            -   ทฤษฏีการเรียนรู้ของฮัลล์(Hull’s Systematic Behavior Theory) มีความเชื่อว่าถ้าร่างกายเมื่อยล้า  การเรียนรู้จะลดลง  การตอบสนองต่อการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเมื่อได้รับแรงเสริมในเวลาใกล้บรรลุเป้าหมาย  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงมักคำนึงถึงความพร้อม  ความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด  การจัดการเรียนการสอนควรให้ทางเลือกที่หลากหลายเพื่อตอบสนองระดับความสามารถของผู้เรียน


       ประสาท  อิศรปรีดา(1993:160-196) ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์กล่าวไว้ว่า ถ้าร่างกายเมื่อยล้าการเรียนรู้จะลดลการตอบสนองต่อการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเมื่อได้รับแรงเสริมในเวลาใกล้บรรลุเป้าหมาย หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงมักคำนึงถึงความพร้อม ความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุดการจัดการเรียนการสอนควรให้ทางเลือกที่หลากหลายเพื่อตอบสนองระดับความสามารถของผู้เรียน ทฤษฏีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้  ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญๆ 3 แนวด้วยกัน คือ
-   ทฤษฎีการเชื่อมโยง (Classical Connectionism)   ของธอร์นไดค์ (Thorndike)
 มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง  ซึ่งมีหลายรูปแบบ  บุคคลจะมีการลองผิดลองถูกปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมากที่สุด  เมื่อเกิดการเรียนรู้แล้ว  บุคคลจะใช้รูปแบบการตอบสนองที่เหมาะสมเพียงรูปแบบเและจะพยายามใช้รูปแบบนั้นเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าในการเรียนรู้ต่อไปเรื่อยๆ  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนแบบลองผิดลองถูกบ้าง  มีการสำรวจความพร้อมของผู้เรียนซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องกระทำก่อนการสอนบทเรียน  เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้วครูควรฝึกให้ผู้เรียนฝึกการนำการเรียนรู้นั้นไปใช้บ่อยๆ  การศึกษาว่าสิ่งใดเป็นสิ่งเร้าหรือรางวัลที่ผู้เรียนพึงพอใจจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
-   ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) ประกอบด้วยทฤษฏีย่อย 4 ทฤษฎีดังนี้
1)  ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของพาฟลอฟ (Pavlov’s Classical Conditioning)   เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
2) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของวัตสัน (Watson’s Classical Conditioning)เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเช่นกัน สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
 3) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี (Guthrie’s Contiguous Conditioning)เน้นหลักการจูงใจ สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้เมื่อเกิดขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียว ก็นับว่าได้เรียนรู้แล้วไม่จำเป็นต้องทำซ้ำอีก
            4)ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกินเนอร์ (Skinner’s Operant Conditioning) เน้นการเสริมแรงหรือให้รางวัล สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การกระทำใดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเสนอสิ่งเร้าในการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มีการแสริมแรงหรือให้รางวัลเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจที่จะเรียนรู้
         -   ทฤษฏีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory) มีความเชื่อว่าถ้าร่างกายเมื่อยล้า การเรียนรู้จะลดลง การตอบสนองต่อการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเมื่อได้รับแรงเสริมในเวลาใกล้บรรลุเป้าหมาย หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงมักคำนึงถึงความพร้อม ความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด การจัดการเรียนการสอนควรให้ทางเลือกที่หลากหลายเพื่อตอบสนองระดับความสามารถของผู้เรียน
          กลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด แนวคิดกลุ่มนี้เริ่มขบายความคิดที่เน้นทางด้านพฤติกรรมออกไปสู่กระบวนการทางความคิด  ซี่งเป็นกระบวนการภายในสมอง  โดยนักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านี้นการเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งกว่านั้น เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ  เป็นการใช้สติปัญญาของมนุษย์ในการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเองนั่นเอง 

สรุป
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลางคือไม่ดีไม่เลว (neutral - passive) การกระทำต่าง ๆ ของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงมักคำนึงถึงความพร้อม ความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด การจัดการเรียนการสอนควรให้ทางเลือกที่หลากหลายเพื่อตอบสนองระดับความสามารถของผู้เรียนพฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (stimulus - response)การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับพฤติกรรมมาก เพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด-   ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)  ประกอบด้วยทฤษฏีย่อย 4 ทฤษฏี ดังนีh
      1)  ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของพาฟลอฟ (Pavlov’s Classical Conditioning)   เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
      2) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของวัตสัน (Watson’s Classical Conditioning)เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเช่นกัน สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
        3) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี (Guthrie’s Contiguous Conditioning)เน้นหลักการจูงใจ สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้เมื่อเกิดขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียว ก็นับว่าได้เรียนรู้แล้วไม่จำเป็นต้องทำซ้ำอีก
      4)ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกินเนอร์ (Skinner’s Operant Conditioning) เน้นการเสริมแรงหรือให้รางวัล สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การกระทำใดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเสนอสิ่งเร้าในการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มีการแสริมแรงหรือให้รางวัลเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจที่จะเรียน

..............................................................................................................................................


อ้างอิง
  • ทิศนา แขมมณี. (2545).ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  • มหาสารคาม,มหาวิทยาลัย.สารัตถะจิตวิทยาการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 6 .มหาสารคาม.มหาวิทยาลัยสารคาม.
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัชรา  เอิบสุขสิริ.เอกสารประกอบการเรียนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.