วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555



1.3(5) ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Theory of Cooperative or Collaborative Learning)


                 http://www.oknation.net/blog/print.php?id=294321 กล่าวไว้ว่า การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3  6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้  มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด  มีการสัมพันธ์กัน  มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม  และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่ หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน  และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม  เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่มเดียว

                  http://dontong52.blogspot.com/ ได้กล่าวว่า ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกัน ช่วยกันเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม นักศึกษาคนสำคัญ ได้แก่ สลาวิน เดวิดจอห์นสัน และรอเจอร์ จอห์สัน
              1. องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
                  1) การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน
                  2) การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด
                  3) ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน
                  4) การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย
                  5) การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม
              2. ผลของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
                  1) มีความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายมากขึ้น
                  2) มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนดีขึ้น
                  3) มุขภาพจิตดีขึ้น
              3. ประเภทของกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ
                  1) กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างเป็นทางการ
                  2) กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือย่างไม่เป็นทางการ

                 3) กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างถาวร
              
                 http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้  มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด  มีการสัมพันธ์กัน  มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม  และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน   ส่วน การประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน  และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม  เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่ม

สรุป 
                 การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative and Collaborative Learning) เป็นวิธีการ จัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่ง ที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถที่แตกต่างกัน เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละคน สนับสนุนให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้นอกจากนี้ การเรียนรู้แบบร่วมมือ ยังเป็นการส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ หรือทีม ตามระบอบประชาธิปไตย เป็นการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ สามารถปรับตัวให้อยู่กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  การส่งเสริมการเรียนแบบร่วมมือ  สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี  และได้เรียนรู้ทักษะทางสังคมและการทำงานร่วมกับผู้อื่น  องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือมี 5  ประการได้แก่
            1)  การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน
            2) การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด
            3) ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน
            4) การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย
            5) การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม
...........................................................................................................................................................

อ้างอิง

  • http://www.oknation.net/blog/print.php?id=294321. เข้าถึงเมื่อ 22/07/2555
  • http://dontong52.blogspot.com/.  เข้าถึงเมื่อ 22/07/2555
  • http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm.   เข้าถึงเมื่อ 22/07/2555


วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


1.3(2) ทฤษฎีพหุปัญญา(Theory of Multiple Intelligences)



       http://dontong52.blogspot.com/ ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า ผู้บุกเบิกทฤษฎีนี้ คือ การ์ดเนอร์จากมหาวิทยาลัยอาร์วาร์ด ได้ให้คำนิยาม “เชาว์ปัญญา” (Intelligence)ไว้ว่า หมายถึง ความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ หรือการสร้างสรรค์ผลงานต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรมในแต่ละแห่ง  การ์ดเนอร์มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ
 2 ประการ คือ
       1. เชาว์ปัญญาของบุคคลมี 8 ประการด้วยกัน ได้แก่
           1.1 เชาว์ปัญญาด้านภาษา
           1.2 เชาว์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์ หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ
           1.3 สติปัญญาด้านมิตรสัมพันธ์
           1.4 เชาว์ปัญญาด้านดนตรี
           1.5 เชาว์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ
           1.6 เชาว์ปัญญาด้านการสัมพันธ์กับผู้อื่
           1.7 เชาว์ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง
           1.8 เชาว์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ
       2. เชาว์ปัญญาของแต่ละคนจะไม่อยู่คงที่ แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
     

        http://www.vcharkarn.com/vblog/16268/2 ได้กล่าวว่าในบทนำของหนังสือ (Multiple Intelligences Lesson plan book ) ว่านักการศึกษาส่วนมากตระหนักถึงการทำการทดสอบทางสติปัญญาที่เคยปฏิบัติกันสมัยก่อนว่าไม่มีความเหมาะสมเพียงพอที่จะวัดสติปัญญาเพียงด้านเดียว ซึ่งเรารู้เองว่ามีการแสดงออกทางสติปัญญาได้หลากหลายวิธีและรู้ว่าสติปัญญาสามารถได้รับการฝึกฝนและพัฒนาสืบต่อไป

       http://www.gotoknow.org/blog/prachyanun/66567 ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า ทฤษฎีพหุปัญญาของศาสตราจารย์ โฮเวริ์ด  การ์ดเนอร์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด  กล่าวถึงความฉลาดของมนุษย์ไม่ว่าจะในเด็กหรือผู้ใหญ่  
จะมีอยู่ด้วยกัน 9 ประการคือ
        1. ความฉลาดในการใช้ภาษา
        2. ความฉลาดในด้านตรรกะและคณิตศาสตร์
        3. ความฉลาดในด้านจินตนาการ
        4. ความฉลาดในด้านควบคุมร่างกาย
        5. ความฉลาดในด้านดนตรี
        6. ความฉลาดในด้านความมีมนุษย์สัมพันธ์
        7. ความฉลาดในด้านการเข้าใจตนเอ
        8. ความฉลาดในการเข้าใจธรรมชาติ
        9. ความฉลาดในการใช้ชีวิต

สรุป
     ความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ หรือการสร้างสรรค์ผลงานต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรมในแต่ละแห่ง และนักการศึกษาจะตระหนักถึงการทำการทดสอบทางสติปัญญาที่เคยปฏิบัติกันสมัยก่อนว่าไม่มีความเหมาะสมเพียงพอที่จะวัดสติปัญญาเพียงด้านเดียว ซึ่งเรารู้เองว่ามีการแสดงออกทางสติปัญญาได้หลากหลายวิธีและรู้ว่าสติปัญญาสามารถได้รับการฝึกฝนและพัฒนาสืบต่อไป
............................................................................................................


อ้างอิง
  • http://dontong52.blogspot.com/  เข้าถึงเมื่อ  22/07/2555 
  • http://www.vcharkarn.com/vblog/16268/2 เข้าถึงเมื่อ  22/07/2555
  • http://www.gotoknow.org/blog/prachyanun/66567 เข้าถึงเมื่อ  22/07/2555 

 1.3(1) ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory)


            http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7 ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ ได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส (encoding) เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การท่องจำซ้ำๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด

            http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm  ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า  เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์

            คลอสเมียร์  http://sites.google.com/site/bookeclair/hk  ได้รวบรวมแร้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า  เป็นทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลผลข้อมูล เป็นทฤษฎีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ เกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฎีเริ่มได้รับความนิยมมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 จนถึงปัจจุบัน ชื่อในภาษาไทยหลายชื่อ เช่น ทฤษฎีประมวลสารข้อมูลข่าวสาร ทฤษฎีการประมวลผลข้อมูลสารสนเทศในที่นี้ จะใช้เรียกว่าทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูลทฤษฎีนี้มีแนวคิดว่า  การทำงานของสมองมีความคล้ายคลึงกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ คลอสเมียร์ ได้อธิบายการเรียนรู้ของมนุษย์โดยเปรียบเทียบการทำงานของคอมพิวเตอร์กับการทำงานของสมอง ซึ่งมีการทำงานเป็นขั้นตอนดังนี้ คือ
          1.การรับข้อมูล (Input) โดยผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องรับข้อมูล          
          2.การเข้ารหัส (Encoding) โดยอาศัยชุดคำสั่งหรือซอฟต์แวร์ (Software)          
          3.การส่งข้อมูลออก (Output) โดยผ่านทางอุปกรณ์
         คลอสเมียร์ ได้อธิบายการประมวลผลข้อมูลโดยเริ่มต้นจากการที่มนุษย์รับสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 สิ่งเร้าที่เข้ามาจะได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น ซึ่งการบันทึกนี้จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการ คือ การรู้จัก(Recognition) และความสนใจ (Atention) ของบุคคลที่รับสิ่งเร้า บุคคลจะเลือกรับสิ่งเร้าที่ตนรู้จักหรือมีความสนใจ สิ่งเร้านั้นจะได้รับการบันทึกลงในความจำระยะสั้น (Short-Term Memory) ซึ่งดำรงคงอยู่ในระยะเวลาที่จำกัดมาก แต่ละบุคคลมีความสามารถในการจำระยะสั้นที่จำกัด ในการทำงานที่จะเป็นต้องเก็บข้อมูลไว้ใช้ชั่วคราว อาจจำเป็นต้องใช้เทคนิคต่างๆ ในการจำช่วย เช่น การจัดกลุ่มคำ หรือการท่องซ้ำๆ ซึ่งจะสามารถช่วยให้จดจำไว้ใช้งานได้
          การเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง สามารถทำได้โดยข้อมูลนั้นจำเป็นต้องได้รับการประมวลและเปลี่ยนรูปโดยการเข้ารหัส (Encoding) เพื่อนำไปเก็บไว้ในความจำระยะยาว (Long Term Memory) ซึ่งอาจต้องใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การท่องซ้ำหลายๆ ครั้ง หรือการทำข้อมูลให้มีความหมายกับตนเอง โดยการสัมพันธ์สิ่งที่เรียนรู้สิ่งใหม่กับสิ่งเก่าที่เคยเรียนรู้มาก่อน ซึ่งเรียกว่า เป็นกระบวนการขยายความคิด (Elaborative Operations Process)
          ความจำระยะยาวนี้มี 2 ชนิด คือ ความจำที่เกี่ยวกับภาษา (Semantic) และความจำที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ (Affective Memory) เมื่อข้อมูลข่าวสารได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะยาวแล้ว บุคคลจะสามารถเรียกข้อมูลต่างๆ ออกมาใช้ได้ ซึ่งในการเรียกข้อมูลออกมาใช้ บุคคลจำเป็นต้องถอดรหัสข้อมูล (Decoding) จากความจำระยะยาว และส่งต่อไปสู่ตัวก่อกำเนิดพฤติกรรมตอบสนอง ซึ่งจะเป็นแรงขับหรือกระตุ้นให้บุคคลมีการเคลื่อนไหว หรือการพูดสนองตอบต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ กระบวนการของการประมวลข้อมูลของมนุษย์
          กระบวนการสมองในการประมวลข้อมูล หากเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์แล้ว ก็คือ โปรแกรมสั่งงาน หรือ “Software” การบริหารควบคุมการประมวลข้อมูลของสมองคือการที่บุคคลรู้ถึงการคิดของตนและสามารถควบคุมการคิดของตนให้เป็นไปในทางที่ตนต้องการ การรู้  เรียกว่า “Metacognition” หรือการรู้คิด” หมายถึง การตระหนักรู้ (Awareness)  เกี่ยวกับความรู้และความสามารถของตน และใช้ความเข้าใจในการรู้
          การจัดการควบคุมกระบวนการคิด ด้วยวิธีต่างๆ ช่วยให้การเรียนรู้และงานที่ทำประสบผลสำเร็จตามที่ต้องการ องค์ประกอบสำคัญของการรู้คิดที่ใช้ในการบริหารควบคุมกระบวนการประมวลข้อมูล ประกอบด้วยแรงจูงใจ ความตั้งใจ และความมุ่งหวังต่างๆ รวมทั้งเทคนิคและกลวิธีต่างๆ
          กระบวนการรู้คิด ประกอบด้วย ความใส่ใจ (Attention)  การรับรู้ (Perception)กลวิธีต่างๆ (Strategies) เช่น รู้ว่าตนไม่สามารถจดจำสิ่งที่ครูสอนได้ เราคิดหากลวิธีต่างๆ ที่จะมาช่วยให้จดจำสิ่งที่เรียนได้มากขึ้น อาจใช้วิธีการท่อง การจดบันทึก การท่องจำเป็นกลอน การท่องตัวย่อ การทำรหัส การเชื่อมโยงในสิ่งที่สัมพันธ์กัน เป็นต้น

          สรุป
           ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูลเป็นทฤษฏีที่ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมองมีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์  ดยเปรียบเทียบการทำงานของคอมพิวเตอร์กับการทำงานของสมอง ซึ่งมีการทำงานเป็นขั้นตอนดังนี้ คือ
          1.การรับข้อมูล (Input) โดยผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องรับข้อมูล          
          2.การเข้ารหัส (Encoding) โดยอาศัยชุดคำสั่งหรือซอฟต์แวร์ (Software)
          3.การส่งข้อมูลออก (Output) โดยผ่านทางอุปกรณ์
          หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การนำเสนอสิ่งเร้าหรือมีข้อมูลอยู่สามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ ได้เป็นเวลานาน เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการจำทำได้หลายวิธี เช่น การท่องจำซ้ำๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด  
.........................................................................................................................................................................................................................
อ้างอิง
  • http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7.  เข้าถึงเมื่อ  21/07/2555
  • http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm.  เข้าถึงเมื่อ  21/07/2555 
  • คลอสเมียร์  http://sites.google.com/site/bookeclair/hk.  เข้าถึงเมื่อ 22/07/2555