วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

1.2(3) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)


บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง (http://dontong52.blogspot.com/ ) กล่าวว่า นักคิดกลุ่มมนุษยนิยม ให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์ และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่ามีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ นักจิตวิทยาคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ มาสโลว์ รอเจอร์ส โคม โนลส์ แฟร์ อิลลิซ และนีล
1. ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ (Maslow, 1962)
 1.1) มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับชั้น
 1.2) มนุษย์มีความต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง
2. ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์ส (Rogers)
 2.1) การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น ปลอดภัย.
 2.2) ผู้เรียนแต่ละคนมีศักยภาพและแรงจูงใจที่จะพัฒนาตนเองอยู่แล้ว
 2.3) ในการจัดการเรียนการสอนควรเน้นการเรียนรู้กระบวนการเป็นสำคัญ
3. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์ (Combs) โคมส์ เชื่อว่าความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
4. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของ โนลส์ (Knowles)
 4.1) ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
 4.2) การเรียนรู้ของมนุษย์เป็นกระบวนการภายใน
 4.3) มนุษย์จะเรียนรู้ได้ดีหากมีอิสระที่จะเรียนในสิ่งที่ตนต้องการ
 4.4) มนุษย์ทุกคนมีลักษณะเฉพาะตน
 4.5) มนุษย์เป็นผู้มีความสามารถและเสรีภาพที่จะตัดสินใจ
5. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์ (Faire)เปาโล แฟร์ เชื่อในทฤษฎีของผู้ถูกกดขี่ ผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า
6. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอิลลิช (Illich) อิวาน อิลลิช ได้เสนอความคิดเกี่ยวกับการล้มเลิกระบบโรงเรียน การศึกษาควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิตแบบเป็นไปตามธรรมชาติ
7. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล (Neil) นีล กล่าวว่า มนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี มีความดีโดยธรรมชาติหากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น มีอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดี
ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์ กล่าวว่า แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ การจัดบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนรู้และเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยครูเป็นผู้ชี้แนะและทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนและการเรียนรู้จะเน้นกระบวนการเป็นสำคัญ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเรียนรู้กระบวนการเป็นสำคัญ ควรจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น ปลอดภัย ครูควรสอนแบบชี้แนะโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้นำทางในการเรียนรู้ของตนและคอยช่วยเหลือผู้เรียนให้เรียนอย่างสะดวกจนบรรลุผล

                ทิศนา แขมมณี ผู้รวบรวม(2550 : 201-202)  ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์  แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้  คือ  มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น  และต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าถึงความต้องการพื้นฐานของผู้เรียน  และตอบสนองความต้องการพื้นฐานนั้นอย่างพอเพียง  ให้อิสรภาพและเสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้  มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ซึ่งช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ในการรู้จักตนเองตามสภาพความเป็นจริง มาสโลว์ ได้แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ขั้นเรียงตามลำดับ ดังนี้
ขั้นที่ 1 ความต้องการทางกาย (Physiological Needs) คือความต้องการปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต
ขั้นที่ 2 ความต้องการความ มั่นคงปลอดภัย (Safety and Security Needs) คือความต้องการที่จะมีชีวิต ที่มั่นคง ปลอดภัย
ขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม (Love and Belonging Needs) มนุษย์เมื่อเข้าไปอยู่ในกลุ่มใดก็ต้องการให้ตนเป็นที่รักและยอมรับในกลุ่มที่ตนอยู่
ขั้นที่ 4 ความต้องการได้ รับการยกย่องจากผู้อื่น (Self -Esteem Needs) เป็นความต้องการในลำดับต่อมา ซึ่งความต้องการในชั้นนี้ถ้าได้รับจะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจใจตนเอง
ขั้นที่ 5 ความต้องการในการเข้าใจและรู้จักตนเอง (Self-Actualization Needs) เป็นความต้องการชั้นสูงของมนุษย์ ซึ่งน้อยคนที่จะประสบได้ถึงขั้นนี้

ดร.สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา ( http://surinx.blogspot.com/ )  แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของ โนลส์(Knowles)
                1. ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
2.การเรียนรู้ของมนุษย์เป็นกระบวนการภายใน อยู่ในความควบคุมของผู้เรียนแต่ละคน ผู้เรียนจะนำประสบการณ์ ความรู้ ทักษะและค่านิยมต่างๆเข้ามาสู่การเรียนรู้ของตน
3.มนุษย์จะเรียนรู้ได้ดีหากมีอิสระที่จะเรียนในสิ่งที่ตนต้องการและด้วยวิธีการที่ตนพอใจ
4.มนุษย์ทุกคนมีลักษณะเฉพาะตน ความเป็นเอกัตบุคคลเป็นสิ่งที่มีคุณค่า มนุษย์ควรได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาความเป็นเอกัตบุคคลของตน
5.มนุษย์เป็นผู้มีความสามารถและเสรีภาพที่จะตัดสินใจ และเลือกกระทำสิ่งต่างๆตามที่ตนพอใจ และรับผิดชอบในผลของการกระทำนั้น

สรุป
กลุ่มมนุษยนิยมได้กล่าวว่าเป็นการมองมนุษย์ว่ามีคุณค่ามีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ นักจิตวิทยาคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ มาสโลว์ รอเจอร์ส โคม ดนเลส์ แฟร์ อิลลิซ และนีล
            1. ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ (Maslow, 1962)
        1.1) มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับชั้น
        1.2) มนุษย์มีความต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง
            2. ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์ส (Rogers)
        2.1) การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น ปลอดภัย
        2.2) ผู้เรียนแต่ละคนมีศักยภาพและแรงจูงใจที่จะพัฒนาตนเองอยู่แล้ว
        2.3) ในการจัดการเรียนการสอนควรเน้นการเรียนรู้กระบวนการเป็นสำคัญ
            3. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์ (Combs)  โคมส์ เชื่อว่าความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
                4. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของ โนลส์ (Knowles)
         4.1) ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
        4.2) การเรียนรู้ของมนุษย์เป็นกระบวนการภายใน
        4.3) มนุษย์จะเรียนรู้ได้ดีหากมีอิสระที่จะเรียนในสิ่งที่ตนต้องการ
        4.4) มนุษย์ทุกคนมีลักษณะเฉพาะตน
        4.5) มนุษย์เป็นผู้มีความสามารถและเสรีภาพที่จะตัดสินใจ
5. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์ (Faire)  เปาโล แฟร์ เชื่อในทฤษฎีของผู้ถูกกดขี่ ผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า2.3.6 แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอลลิช (Illich)
6.อิวาน อิลลิช ได้เสนอความคิดเกี่ยวกับการล้มเลิกระบบโรงเรียน การศึกษาควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิตแบบเป็นไปตามธรรมชาติ
            7.แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล (Neil) นีล กล่าวว่า มนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี มีความดีโดยธรรมชาติหากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น มีอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดี
..............................................................................................................................................
อ้างอิง

  •  http://dontong52.blogspot.com/    เข้าถึงเมื่อวันที่ 14/07/2555
  •  http://surinx.blogspot.com  เข้าถึงเมื่อวันที่ 14/07/2555
  • ทิศนา แขมมณี. (2545).ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น