1.ชื่อเรื่อง (The Title)
http://goo.gl/7hTYw กล่าวว่าหัวข้อปัญหา (Topic) ของการวิจัย ก็คือ
เรื่องที่ผู้วิจัยสงสัยหรือไม่รู้และใคร่รู้คำตอบ หัวข้อปัญหายังจะเป็นเรื่องกว้าง ๆ
ที่จะบอกให้ทราบว่านักวิจัยสนใจเรื่องทำนองใด บางที่เรียกกันว่า Problem
area ตัวอย่างหัวข้อปัญหาเช่น ภาพพจน์ของสถาบันราชภัฏลำปาง พฤติกรรมทางเพศของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
ผลสัมฤทธิ์ของการสอนโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ขวัญและกำลังใจของครูจากโครงการคุรุทายาท การจำคำ การสอนแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์
เป็นต้น จะเห็นว่าหัวข้อปัญหายังจะไม่เฉพาะเจาะจงลงไปอย่างชัดเจนว่าเป็นปัญหาอย่างไร และหัวข้อปัญหาก็ยังไม่ใช่ชื่อเรื่องของการวิจัยเพราะชื่อเรื่องของการวิจัยนั้นต้องแสดงออกถึงความชัดเจนและเฉพาะเจาะจงมากกว่านี้
การเลือกหัวข้อปัญหาเป็นการตัดสินใจว่าสนใจจะวิจัยหาคำตอบเกี่ยวข้อง
กับเรื่องอะไร ตามปกติแล้วคนเรามักมีเรื่องที่สงสัยใคร่หาคำตอบในคราวเดียวกันอยู่หลายเรื่อง แต่การที่จะทำวิจัยเพื่อหาคำตอบในทุกหัวข้อเรื่องที่สงสัยในการวิจัยคราวเดียวกันเป็นเรื่องที่เกินวิสัยจะทำได้ การวิจัยแต่ละครั้งจะตอบปัญหาได้เพียงเรื่องเดียวเท่านั้น ดังนั้นในการวิจัยครั้งหนึ่งๆ
นักวิจัยจะต้องตัดสินใจเจาะจงเลือกให้แน่นอนว่าสนใจจะตอบปัญหาเกี่ยวกับเรื่องใด การตัดสินใจเลือกหัวข้อปัญหาจึงเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากเพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการวิจัยถ้านักวิจัยตัดสินใจพลาดในขั้นตอนนี้
อาจส่งผลให้การวิจัยในขั้นตอนอื่นๆ ติดขัดหรือมีอุปสรรคไปด้วย
และที่หนักที่สุดก็อาจถึงกับทำให้งานวิจัยนั้นต้องล้มเลิกกลางคันเลยก็ได้
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 กล่าวว่าชื่อเรื่องควรมีความหมายสั้น
กะทัดรัดและชัดเจน เพื่อระบุถึงเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัย ว่าทำอะไร กับใคร
ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด หรือต้องการผลอะไร ยกตัวอย่างเช่น “ประสิทธิผลของการใช้วัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันกับทหารในศูนย์ฝึกทหารใหม่
กรมยุทธศึกษาทหารเรือ 2547” ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ชื่อที่ยาวมากๆ
อาจแบ่งชื่อเรื่องออกเป็น 2 ตอน
โดยให้ชื่อในตอนแรกมีน้ำหนักความสำคัญมากกว่า
และตอนที่สองเป็นเพียงส่วนประกอบหรือส่วนขยาย เช่น “โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการใช้ถุงยางอนามัย
เพื่อป้องกันโรคของนักเรียนชาย : การเปรียบเทียบระหว่างนักเรียนอาชีวศึกษากับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร 2547”
นอกจากนี้
ควรคำนึงด้วยว่าชื่อเรื่องกับเนื้อหาของเรื่องที่ต้องการศึกษาควรมีความสอดคล้องกันการเลือกเรื่องในการทำวิจัยเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ
ที่ต้องพิจารณารายละเอียดต่างๆ หลายประเด็น
โดยเฉพาะประโยชน์ที่จะได้รับจากผลของการวิจัย ในการเลือกหัวเรื่องของการวิจัย
มีข้อควรพิจารณา 4 หัวข้อ คือ
1. ความสนใจของผู้วิจัย
ควรเลือกเรื่องที่ตนเองสนใจมากที่สุด และควรเป็นเรื่องที่ไม่ยากจนเกินไป
2. ความสำคัญของเรื่องที่จะทำวิจัย
ควรเลือกเรื่องที่มีความสำคัญ และนำไปใช้ปฏิบัติหรือสร้างแนวความคิดใหม่ๆ ได้
โดยเฉพาะเกี่ยวกับงานด้านเวชศาสตร์ครอบครัวหรือเชื่อมโยงกับระบบสุขภาพ
3. เป็นเรื่องที่สามารถทำวิจัยได้
เรื่องที่เลือกต้องอยู่ในวิสัยที่จะทำวิจัยได้ โดยไม่มีผลกระทบอันเนื่องจากปัญหาต่างๆ เช่น
ด้านจริยธรรม ด้านงบประมาณ ด้านตัวแปรและการเก็บข้อมูล ด้านระยะเวลาและการ
บริหาร ด้านการเมือง หรือเกินความสามารถของผู้วิจัย
4. ไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยที่ทำมาแล้ว
ซึ่งอาจมีความซ้ำซ้อนในประเด็นต่างๆ ที่ต้องพิจารณาเพื่อหลีกเลี่ยง ได้แก่ ชื่อเรื่องและ
ปัญหาของการวิจัย (พบมากที่สุด) สถานที่ที่ทำการวิจัย ระยะเวลาที่ทำการวิจัย วิธีการ หรือระเบียบวิธี
ของการวิจัย
1. ความสนใจของผู้วิจัย
ควรเลือกเรื่องที่ตนเองสนใจมากที่สุด และควรเป็นเรื่องที่ไม่ยากจนเกินไป
2. ความสำคัญของเรื่องที่จะทำวิจัย
ควรเลือกเรื่องที่มีความสำคัญ และนำไปใช้ปฏิบัติหรือสร้างแนวความคิดใหม่ๆ ได้
โดยเฉพาะเกี่ยวกับงานด้านเวชศาสตร์ครอบครัวหรือเชื่อมโยงกับระบบสุขภาพ
3. เป็นเรื่องที่สามารถทำวิจัยได้
เรื่องที่เลือกต้องอยู่ในวิสัยที่จะทำวิจัยได้ โดยไม่มีผลกระทบอันเนื่องจากปัญหาต่างๆ เช่น
ด้านจริยธรรม ด้านงบประมาณ ด้านตัวแปรและการเก็บข้อมูล ด้านระยะเวลาและการ
บริหาร ด้านการเมือง หรือเกินความสามารถของผู้วิจัย
4. ไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยที่ทำมาแล้ว
ซึ่งอาจมีความซ้ำซ้อนในประเด็นต่างๆ ที่ต้องพิจารณาเพื่อหลีกเลี่ยง ได้แก่ ชื่อเรื่องและ
ปัญหาของการวิจัย (พบมากที่สุด) สถานที่ที่ทำการวิจัย ระยะเวลาที่ทำการวิจัย วิธีการ หรือระเบียบวิธี
ของการวิจัย
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm กล่าวว่าชื่อเรื่อง
มักเป็นส่วนดึงดูดความสนใจจุดแรก ของโครงร่างการวิจัยทั้งโครงการ
จึงควรตั้งชื่อเรื่องให้น่าสนใจ ทันต่อเหตุการณ์ พิจารณาแล้ว
เป็นเรื่องที่วิจัยได้ (researchable topic) และควรแกการแสวงหาคำตอบโดยทั่วไป
หลักในการตั้งชื่อเรื่อง ทำได้ดดยหยิบยกเอาคำสำคัญ (key words) ของเรื่องที่จะทำวิจัย ออกมาประกอบกันเป็นชื่อเรื่อง จะทำให้ชื่อนั้นสั้น
กระทัดรัด ชัดเจน และสื่อความหมาย ครอบคลุมความสำคัญ ของเรื่องที่จะศึกษาทั้งหมด
คำสำคัญ ควรเป็นคำที่ใช้กันทั่ว
ๆ ไป ในสาขาวิชาที่จะศึกษา จะช่วยให้บรรลุหลักการ
ดังกล่าวข้างต้น ได้ดียิ่งขึ้น เช่น คำว่าประสิทธิผล (effectiveness), ปัจจัยเสี่ยง (risk factor), ความไว (sensitivity), ความถูกต้อง (accuracy) เป็นต้น ถ้าต้องมีทั้ง
ชื่อเรื่องภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ควรจะสอดคล้องไปด้วยกัน ในเชิงความหมาย
สรุป ชื่อเรื่องที่จะวิจัยต้องตรงกับปัญหาที่ศึกษา มีความเฉพาะเจาะจง ใช้ภาษาที่กะทัดรัด ต้องใช้ภาษาให้ชัดเจน เข้าใจง่าย ต้องตั้งชื่อให้แสดงถึงมโนมติ(Concept) ของตัวแปรหรือแสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรในปัญหานั้นๆการตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้มีความหมาย มีความยาวเท่าใดก็ได้แต่ต้อง กำหนดขอบเขตให้ชัดเจน ให้ผู้อ่านงานวิจัยรู้ว่าทำการวิจัยอะไร กับใคร ที่ไหน เมื่อใด การตั้งชื่อเรื่องวิจัยอย่างสั้นๆ ที่บอกความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ส่วนรายละเอียดอื่นๆจะอยู่ในขอบเขตของการวิจัย
....................................................................................................................................................................................................
สรุป ชื่อเรื่องที่จะวิจัยต้องตรงกับปัญหาที่ศึกษา มีความเฉพาะเจาะจง ใช้ภาษาที่กะทัดรัด ต้องใช้ภาษาให้ชัดเจน เข้าใจง่าย ต้องตั้งชื่อให้แสดงถึงมโนมติ(Concept) ของตัวแปรหรือแสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรในปัญหานั้นๆการตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้มีความหมาย มีความยาวเท่าใดก็ได้แต่ต้อง กำหนดขอบเขตให้ชัดเจน ให้ผู้อ่านงานวิจัยรู้ว่าทำการวิจัยอะไร กับใคร ที่ไหน เมื่อใด การตั้งชื่อเรื่องวิจัยอย่างสั้นๆ ที่บอกความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ส่วนรายละเอียดอื่นๆจะอยู่ในขอบเขตของการวิจัย
....................................................................................................................................................................................................
อ้างอิง
- http://goo.gl/7hTYw เข้าถึงเมื่อ 25/12/2555
- http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เข้าถึงเมื่อ 25/12/2555
- http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm เข้าถึงเมื่อ 25/12/2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น