4. คำถามของการวิจัย
(research question )
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 กล่าวว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องกำหนดขึ้น (problem
identification) และให้นิยามปัญหานั้น อย่างชัดเจน เพราะปัญหาที่ชัดเจน
จะช่วยให้ผู้วิจัย กำหนดวัตถุประสงค์ ตั้งสมมติฐาน ให้นิยามตัวแปรที่สำคัญ ๆ
ตลอดจน การวัดตัวแปรเหล่านั้นได้ ถ้าผู้วิจัย ตั้งคำถามที่ไม่ชัดเจน
สะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่ตัวก็ยังไม่แน่ใจ ว่าจะศึกษาอะไร ทำให้การวางแผนในขั้นต่อไป
เกิดความสับสนได้
กล่าวว่าคำถามของการวิจัยต้องเหมาะสม
(relevant) หรือสัมพันธ์
กับเรื่องที่จะศึกษา โดยควรมีคำถาม ที่สำคัญที่สุด ซึ่งผู้วิจัย ต้องการคำตอบ
มากที่สุด เพื่อคำถามเดียว เรียกว่า คำถามหลัก (primary research question)
ซึ่งคำถามหลักนี้ จะนำมาใช้เป็นข้อมูล ในการคำนวณ ขนาดของตัวอย่าง
(sample size) แต่ผู้วิจัย อาจกำหนดให้มี คำถามรอง (secondary
research question) อีกจำนวนหนึ่งก็ได้ ซึ่งคำถามรองนี้ เป็นคำถาม
ที่เราต้องการคำตอบ เช่นเดียวกัน แต่มีความสำคัญรองลงมา โดยผู้วิจัย ต้องระลึกว่า
ผลของการวิจัย อาจไม่สามารถ ตอบคำถามรองนี้ได้ ทั้งนี้เพราะ การคำนวณขนาดตัวอย่าง ไม่ได้คำนวณเพื่อตอบคำถามรองเหล่านี้
http://www.gotoknow.org/posts/399427? กล่าวว่าสุวิมล
ว่องวาณิช และนงลักษณ์ วิรัชชัย(2550, หน้า 149-150) ได้อธิบายความหมายไว้ว่า คำถามวิจัย(Research
Questions) หมายถึง ข้อความที่เป็นประโยคคำถาม
ซึ่งแสดงให้เห็นสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการค้นหาคำตอบ คำถามวิจัยและประเด็นวิจัย (Research
Issues) มีความคล้ายคลึงกัน
http://lccu502.blogspot.com/2008/12/blog-post.html คำถามวิจัย คือ
ข้อความที่เป็นประโยคคำถามซึ่งแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการค้นคว้าหาคำตอบ
ทั้งนี้คำถามการวิจัยควรเป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบ หรือไม่สามารถหาคำตอบได้จากตำรา
หรือความรู้เดิมที่มีอยู่ก่อนแล้ว
....................................................................................................................................................................................................
สรุป คำถามของการวิจัย
เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องกำหนดขึ้น (problem identification) และให้นิยามปัญหานั้น อย่างชัดเจน เพราะปัญหาที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้วิจัย
กำหนดวัตถุประสงค์ ตั้งสมมติฐาน ให้นิยามตัวแปรที่สำคัญ ๆ ตลอดจน
การวัดตัวแปรเหล่านั้นได้ ทั้งนี้คำถามการวิจัยควรเป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบ
หรือไม่สามารถหาคำตอบได้จากตำรา หรือความรู้เดิมที่มีอยู่ก่อนแล้ว
และนอกจากนี้คำถามการวิจัยยังเป็นสิ่งที่นักวิจัยมุ่งหวังที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นปัญหา
ซึ่งคำถามจะสามารถทำให้นักวิจัยสามารถเห็นแนวทางทางเลือกของข้อมูลที่จะเก็บรวบรวมและวิเคราะห์
....................................................................................................................................................................................................
อ้างอิง
- http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เข้าถึงเมื่อ 16/12/2555
- http://www.gotoknow.org/posts/399427? เข้าถึงเมื่อ 16/12/2555
- http://lccu502.blogspot.com/2008/12/blog-post.html เข้าถึงเมื่อ 16/12/2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น