6. เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเป็นอย่างไร
ฉัตรชัย เรืองมณี (http://www.gotoknow.org/blogs/posts/106346) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า
โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบันคงไม่มีใครปฏิเสธ
ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ(InformationTechnology)
หรือที่เรียกว่า IT ได้
เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้นการสื่อสารข้อมูลเป็นไปด้วย
ความรวดเร็วและเชื่อมโยงกันอย่างทั่วถึงและกว้างขวาง(Globalization) เทคโนโลยีทางด้านการสื่อสาร (Communication) และ Computer ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อแลกเปลี่ยนสารสนเทศ (Information) ที่มีประสิทธิภาพทำให้เกิดเครือข่ายข้อมูลที่เป็นเหมือน
ใยแมงมุมครอบคลุมทั่วโลกหรือ WWW (World Wide Web) ที่เราเห็น
ได้จากการใช้งานในระบบInternetซึ่งได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต
ประจำวันไปเสียแล้วและกำลังขยายปริมาณจำนวนผู้ใช้มากขึ้นๆใน ทุกวันมีการใช้Internetในการสืบค้นข้อมูลความรู้ทั่วไปการติดต่อ สื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ เช่นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail), การพูดคุย(Chat) หรือ การใช้ Video
conference เป็นต้น การทำธุรกิจการค้า
(e-commerce) การใช้เพื่อการบันเทิงต่างๆ เป็นการดูหนัง,ฟังเพลง,การอ่านนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Magazine) รวมทั้งe-Bookที่อาจมาแทนที่กระดาษโนอนาคตอันใกล้
อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีสารสนเทศอาจมีทั้งคุณและโทษแต่ทั้งน้ี้
ขึ้นอยู่กับว่าเราจะสามารถเลือกใช้ให้เป็นประโยชน์ในทางที่ดีได้อย่างไร
ซึ่งเราสามารถนำระบบเทคโนโลยีสาสนเทศมาใช้เพื่อการพัฒนา
ทางด้านการศึกษาได้เป็นอย่างดี
http://www.thaigoodview.com/node/25772
ได้รวบรวมไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก
โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษา
ดังนี้
1. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้
ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ หลายด้าน
มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)ระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสาร
เช่น การค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ใน World Wide Webเป็นต้น
2. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา
โดยเฉพาะการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผน
การดำเนินการ การติดตามและประเมินผลซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ
3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล
ในเกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยสื่อสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล
เช่น การสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน โดยใช้องค์ประกอบที่สำคัญช่วยสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
เช่นการใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เทเลคอมเฟอเรนซ์ เป็นต้น
วลัยรัตน์ โตวิกกัย (http://www.gotoknow.org/blogs/posts/242734) ได้รวบรวมไว้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคม
บทบาทที่สำคัญของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาการศึกษา
1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้
ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง เช่น
ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, ระบบมัลติมีเดีย, ระบบวิดีโอออนดีมานด์, วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์
และอินเตอร์เน็ต(Internet) เป็นต้น
ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา
ในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ
การติดตาม ประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคม
3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคล
เกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
ผู้เรียนกับผู้เรียน ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน
และการดำเนินงานในหลายด้าน ทั้งนี้โดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร
การดำเนินงานและเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์
และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
สรุป
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคม
บทบาทที่สำคัญของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาการศึกษา การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการศึกษา
แบ่งได้เป็น2ประเภท คือ
ใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษา และใช้เป็นเครื่องมือในการสอน
โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม
การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นเครื่องมือในการสอน เป็นการช่วยให้ครูใช้ความรู้
ความสามารถพิเศษให้เป็นประโยชน์แก่ระบบการศึกษาได้มากขึ้น การนำคอมพิวเตอร์เข้า
มามีส่วนช่วยในการสอน และการศึกษามีประโยชน์ในเรื่องดังต่อไปนี้ คือ
เพื่อฝึกทักษะต่าง ๆ ในการเรียน เพื่อการสาธิต เพื่อการเล่นเกมและสถานการณ์จำลอง
เพื่อสอนงานด้านการเขียน เพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนการสอน เพื่อช่วยผู้เรียนที่มีปัญหาเฉพาะตัว
.................................................................................................................................................................
อ้างอิง
- ฉัตรชัย เรืองมณี.
[ออนไลน์]. http://www.gotoknow.org/blogs/posts/106346
เข้าถึงเมื่อ 17/09/2555
- http://www.thaigoodview.com/node/25772
เข้าถึงเมื่อ
17/09/2555
- วลัยรัตน์ โตวิกกัย . [ออนไลน์]. (http://www.gotoknow.org/blogs/posts/242734) เข้าถึงเมื่อ
17/09/2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น